วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

เปรียบเทียบระบบ Common Law และระบบ Civil Law


1. ระบบ Common Law

ได้มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศ อังกฤษ เป็นประเทศแรก ทั้งนี้ เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ตลอดจนกฎหมายที่มาจากลัทธิศักดินา เนื่องจาก สิทธิและหน้าที่ของคนจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลตามท้องถิ่น แต่ต่อมากษัตริย์พยายามตั้งศูนย์กลางขึ้น จึงทำให้เกิดการขัดแย้งกับท้องถิ่นอย่างรุนแรง แต่พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นผู้พิพากษาสูงสุดและเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม จึงจัดตั้งศาลของพระองค์เอง และ ส่งคำพิพากษาทั่งราชอาณาจักร โดยก่อตั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปขึ้น ซึ่งเป็นสามัญ ( Common ) โดยเหตุนี้จึงเกิดมีกฎหมาย Common Law จนกระทั่งบัดนี้

    การนำ Common Law มาใช้แก่คดีอาจเกิดสถานการณ์ที่แข็งกระด้างไม่เป็นธรรม จึงได้คิดหาทางแก้โดยกำหนดขึ้นใหม่ และโดยวิธีที่พระมหากษัตริย์ในฐานะรัฐาธิปัตย์ได้โอนกำหนดให้แก่ "Chancellor of the Royal Court" จึงได้มี  Court of Chancery ขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมากฎหทายจึงประกอบไปด้วย กฎหมายลายลักษณ์อักษร และ  Common Law รวมทั้ง Equity ซึ่ง Court of Chancery ได้พัฒนาขึ้น 








2.ระบบ  Civil Law


ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ มีต้นตอมาจากระบบกฎหมายแพ่งของโรมัน ซึ่งใช้บังคับกับคนพื้นเมืองหรือชาวโรมัน ที่ได้รับเอกสิทธิ์ที่จะตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี้ ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียนได้รวบรวมกฎหมายที่สำคัญและได้ทำประมวลกฎหมายขึ้น และต่อมาในยุโรปก็นำกฎหมายนี้ไปใช้เสมือนกฎหมายของตน บางครั้งจึงเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า "ระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรป" ภายหลังได้พัฒนาไปเป็นระบบกฎหมายแพ่งของ ฝรั่งเศส และของ เยอรมัน 

   การตีความบทบัญญัติประมวลกฎหมายมีลักษณะเป็นกฎหมายที่วางหลักทั่วไป การตีความจึงต้องตีความอย่างใจกว้างเพื่อจะได้ใช้เป็นรากฐานในการพิพากษาคดีที่ได้เกิดขึ้นเมื่อมีสถานการณ์ใหม่ๆ ต้องนับถือกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาอย่างมากที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายนั้น หลักฐานต่างๆที่ใช้ในการร่างกฎหมาย เช่น คำอภิปรายต่างๆ คำอธิบาย ได้ใช้เป็นหลักฐานในการตีความ โดยแสดงให้เห็นเจตนารมย์ของกฎหมาย และพิมพ์เอกสารดังกล่าวนั้นออกมาเป็นทางการจำหน่ายแก่ประชาชน


อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น