วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

ตำรากฎหมาย

ตำรากฎหมายของประเทศไทยที่ใช้ประมวลมีสองประเภท คือ ที่เขียนอธิบายเรื่องมาตราประเภทหนึ่ง และ ตำราที่เขียนเป็นระบบโดยไม่คำนึงถึงการเรียงมาตราของกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง แต่ทั้งสองก็เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป และ ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับประมวลกฎหมายที่เป็นรากฐานในการเขียนตำรานั้นๆ

   ตำรากฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบ Common Law มักจะไม่ค่อยมีหลักต่างๆ ส่วนมากเป็นการจำแนกแยกแยะของคำพิพากษาต่างๆ และ แสดงให้เห็นถึงสาระและความถูกต้องของคำพิพากษา ผู้พิพากษาหรือทนายความในการพิจารณาคดีหลังๆ มักจะอ้างคำพิพากษาในคดีก่อนๆมากกว่าอ้างหลักเกณฑ์ที่เขียนในตำรา



อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีพิพากษาอรรถคดี

ศาลของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ย่อมนำตัวบทกฎหมายมาปรับข้อเท็จจริงในคดีโดยศาลใช้กฎหมายหรือตีความในกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าในการพิพากษาคดีเป็นการนำหลักทั่วไปมาปรับแก่คดี

แต่ในประเทศที่ใช้ระบบ กฎหมาย Common Law เมื่อศาลพิจารณาได้ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะไปค้นคำพิพากษาที่เคยพิพากษามาแล้วสำหรับข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน นำมาใช้คำพิพากษาเทียบเคียงต่อไป 
ความแตกต่างยังมีในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียกกันว่า ช่องว่างในกฎหมาย ศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law นั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะค้นหลักเกณฑ์ที่จะพิพากษาคดีอยู่แล้ว แต่ศาลของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายย่อมลำบากอยู่บ้าง เพราะ ผูกมัดอยู่กับตัวบทกฎหมาย กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายบางประเทศได้กำหนดวิธีอุดช่องว่างของกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายนี้ย่อมเป็นกรณีที่ศาลในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายสร้างกฎหมายขึ้น 

ตามที่กล่าวมา การศึกษาความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปจำต้องพิจารณาระบบของกฎหมายไทยทั้งหมด และจะนำมาเอาตำราธรรมศาสตร์ของต่างประเทศมาใช้เทียบเคียงได้


อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย

การค้นคว้าหรือการวิจัยในทางกฎหมาย

การค้นคว้าหรือกาารวิจัยในทั้งสองระบบนี้มีความแตกต่างกัน ในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมาย จะต้องตั้งต้นที่ประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ เมื่อเจอตัวบทที่ต้องการแล้ว ก็ไปค้นคว้าตำรากฎหมายที่อธิบายตัวบทนั้นๆ ส่วนคำพิพากษามาเป็นที่สามและในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายไม่ถือหลัก แบบอย่าง คำพิพากษา เพราะ คำพิพากษาเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น

แต่ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law การค้นคว้าต้องเริ่มต้นที่คำพิพากษาเว้นแต่เรื่องที่ค้นคว้าจะได้มีบทบัญญัติของพระราชบัญญัติกำหนดไว้ แม้จะมีบทบัญญัติกำหนดไว้ แต่การตีความนั้นมีผลผูกมัดตามคำพิพากษาต่อๆมาโดยถือว่าเป็นแบบอย่าง ซึงต่างกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ซึ่งไม่ผูกมัดกับคำพิพากษาต่างๆ โดยคำพิพากษาทุกฉบับก็อ้างตัวบทมาตราของกฎหมายนั้น



อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย

การศึกษากฎหมาย

การศึกษากฎหมายย่อมขึ้นต่อระบบแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศนั้นๆ ด้วย เพราะ จะต้แงจัดการการศึกษาให้เข้ากับความคิดใในทางกฎหมายของระบบแห่งกฎหมายนั้นๆ การสอนกฎหมายจึงหนักไปทางความเข้าใจในตัวบท และ หลักต่างๆ การสอนได้ชี้ให้เห็นว่า ศาลหรือผู้ใช้กฎหมายอื่นจะต้องตั่งต้นจากตัวบทกฎหมาย แต่ตรงกันข้าม กับการสอนในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law ย่อมจะให้เน้นความสำคัญอันดับแรกอยู่ที่คำพิพากษาที่ศาลได้พิพากษาไปแล้ว และ ได้แสดงให้เห็นถึง บทบาทของพระมหากษัตริย์ในการพัฒนากฎหมายและทำให้กฎหมายมีข้อความอันนึงอันเดียวกัน

นักกฎหมายที่มีชื่อของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย  คือ ซาวินยี ( Savigny ) ในเยอรมัน หรือ ปลายอน ( Planion ) ในฝรั่งเศส ส่วนในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law นักกฎหมายที่มีชื่อ ได้แก่ สตอรี่        ( Story ) ในสหรัฐอเมริกา และ โค้ก ( Coke ) ในอังกฤษ



อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย


วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ตำรากฎหมาย

ตำรากฎหมายของประเทศที่ใช้ประมวลมีสองประเภทคือ ที่เขียนอธิบายเรื่องมาตรา กับ ตำราที่เขียนเป็นระบบโดยไม่นึกถึงการเรียงมาตราของกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง แต่ไม่ว่าตำราประเภทใดก็เขียนพยายามแสดงให้เห็นหลักเกณฑ์ทั่วไป และเรียบเรียงทั่วไปเกี่ยวกับประมวลกฎหมาย
 ตำราของประเทศที่ใช้ระบบ Common Law มักจะไม่ค่อยมีหลักต่างๆ ส่วนมากจะแยกแยะคำพิพากษาต่างๆที่ตัดสินไปแล้วโดยมีความมุ่งหมายที่จะแยกคำพิพากษาออกเป็นเรื่องๆ และ แสดงให้เห็นความแตกต่างของหลักเกณฑ์ ผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีหลังๆ มักจะอ้างคำพิพากษาในคดีก่อนๆ มากกว่าการอ้างถึงหลักเกณฑ์เขียนในตำรา

ข้อสังเกตุ ในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายนั้นหลักต่างๆที่ปรากฎในตำรากฎหมาย แม้จะไม่ใช่ที่มาของกฎหมายก็จริง แต่ก็ยังมีอิทธิพลในการพัฒนากฎหมายเป็นอันมาก


อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

เปรียบเทียบระบบ Common Law และระบบ Civil Law


1. ระบบ Common Law

ได้มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศ อังกฤษ เป็นประเทศแรก ทั้งนี้ เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ตลอดจนกฎหมายที่มาจากลัทธิศักดินา เนื่องจาก สิทธิและหน้าที่ของคนจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสถานะของบุคคลตามท้องถิ่น แต่ต่อมากษัตริย์พยายามตั้งศูนย์กลางขึ้น จึงทำให้เกิดการขัดแย้งกับท้องถิ่นอย่างรุนแรง แต่พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นผู้พิพากษาสูงสุดและเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม จึงจัดตั้งศาลของพระองค์เอง และ ส่งคำพิพากษาทั่งราชอาณาจักร โดยก่อตั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปขึ้น ซึ่งเป็นสามัญ ( Common ) โดยเหตุนี้จึงเกิดมีกฎหมาย Common Law จนกระทั่งบัดนี้

    การนำ Common Law มาใช้แก่คดีอาจเกิดสถานการณ์ที่แข็งกระด้างไม่เป็นธรรม จึงได้คิดหาทางแก้โดยกำหนดขึ้นใหม่ และโดยวิธีที่พระมหากษัตริย์ในฐานะรัฐาธิปัตย์ได้โอนกำหนดให้แก่ "Chancellor of the Royal Court" จึงได้มี  Court of Chancery ขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมากฎหทายจึงประกอบไปด้วย กฎหมายลายลักษณ์อักษร และ  Common Law รวมทั้ง Equity ซึ่ง Court of Chancery ได้พัฒนาขึ้น 








2.ระบบ  Civil Law


ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ มีต้นตอมาจากระบบกฎหมายแพ่งของโรมัน ซึ่งใช้บังคับกับคนพื้นเมืองหรือชาวโรมัน ที่ได้รับเอกสิทธิ์ที่จะตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี้ ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียนได้รวบรวมกฎหมายที่สำคัญและได้ทำประมวลกฎหมายขึ้น และต่อมาในยุโรปก็นำกฎหมายนี้ไปใช้เสมือนกฎหมายของตน บางครั้งจึงเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า "ระบบกฎหมายภาคพื้นยุโรป" ภายหลังได้พัฒนาไปเป็นระบบกฎหมายแพ่งของ ฝรั่งเศส และของ เยอรมัน 

   การตีความบทบัญญัติประมวลกฎหมายมีลักษณะเป็นกฎหมายที่วางหลักทั่วไป การตีความจึงต้องตีความอย่างใจกว้างเพื่อจะได้ใช้เป็นรากฐานในการพิพากษาคดีที่ได้เกิดขึ้นเมื่อมีสถานการณ์ใหม่ๆ ต้องนับถือกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาอย่างมากที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายนั้น หลักฐานต่างๆที่ใช้ในการร่างกฎหมาย เช่น คำอภิปรายต่างๆ คำอธิบาย ได้ใช้เป็นหลักฐานในการตีความ โดยแสดงให้เห็นเจตนารมย์ของกฎหมาย และพิมพ์เอกสารดังกล่าวนั้นออกมาเป็นทางการจำหน่ายแก่ประชาชน


อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย