วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีพิพากษาอรรถคดี

ศาลของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ย่อมนำตัวบทกฎหมายมาปรับข้อเท็จจริงในคดีโดยศาลใช้กฎหมายหรือตีความในกฎหมาย จึงเห็นได้ว่าในการพิพากษาคดีเป็นการนำหลักทั่วไปมาปรับแก่คดี

แต่ในประเทศที่ใช้ระบบ กฎหมาย Common Law เมื่อศาลพิจารณาได้ข้อเท็จจริงแล้ว ผู้พิพากษาก็จะไปค้นคำพิพากษาที่เคยพิพากษามาแล้วสำหรับข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน นำมาใช้คำพิพากษาเทียบเคียงต่อไป 
ความแตกต่างยังมีในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียกกันว่า ช่องว่างในกฎหมาย ศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law นั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะค้นหลักเกณฑ์ที่จะพิพากษาคดีอยู่แล้ว แต่ศาลของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายย่อมลำบากอยู่บ้าง เพราะ ผูกมัดอยู่กับตัวบทกฎหมาย กฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายบางประเทศได้กำหนดวิธีอุดช่องว่างของกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายนี้ย่อมเป็นกรณีที่ศาลในประเทศที่ใช้ประมวลกฎหมายสร้างกฎหมายขึ้น 

ตามที่กล่าวมา การศึกษาความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปจำต้องพิจารณาระบบของกฎหมายไทยทั้งหมด และจะนำมาเอาตำราธรรมศาสตร์ของต่างประเทศมาใช้เทียบเคียงได้


อ้างอิงมาจาก : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. หยุด แสงอุทัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น